วันพฤหัสบดีที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2557

  วัดมหาพุทธาราม เป็นวัดราษฎร์ที่มีอาณาเขตกว้างขวาง เป็นวัดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองมาตั้งแต่สมัยเมืองศรีนครเขต ปัจจุบันมหาเถรสมาคม ประกาศให้วัดมหาพุทธาราม เป็นสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดศรีสะเกษ แห่งที่ ๑/๒๕๔๙ อันแสดงว่าวัดมหาพุทธาราม เป็นศูนย์รวมจิตใจของประชาชนชาวพุทธทั้งหลาย เป็นศูนย์กลางการปกครอง การศึกษา การเผยแผ่พระพุทธศาสนา การศึกษาสงเคราะห์ การสาธารณูปการ และการสาธารณสงเคราะห์ของคณะสงฆ์ ตั้งแต่อดีตสืบทอดมาจนปัจจุบัน นอกจากนั้น วัดมหาพุทธาราม ยังเป็นสถานที่ใช้ประกอบพิธีสำคัญของคณะสงฆ์ และพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาของเจ้าเมืองและ ข้าหลวงในอดีต และข้าราชการทั้งส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค ตลอดมากระทั่งบัดนี้
เนื่องจากวัดมหาพุทธาราม เป็นวัดเก่าแก่ มีประวัติความเป็นมาหลากหลายทั้งที่เป็นตำนาน เป็นคำบอกเล่าสืบ ๆกันมา เป็นข้อสันนิษฐานของท่านผู้รู้ และประวัติที่เชื่อถือได้ ประการสำคัญ วัดมหาพุทธาราม เป็นวัดใหญ่มีอาณาบริเวณกว้างขวาง เป็นศูนย์รวมกิจการคณะสงฆ์จังหวัดตั้งแต่อดีตมาถึงปัจจุบัน บทบาทหน้าที่ของวัดจึงมีส่วนสำคัญต่อความเจริญงอกงามของคณะสงฆ์ และความมั่งคงสถาพรของพระพุทธศาสนา ตลอดถึงเป็นบุญสถานอันยั่งยืนของประชาชนพุทธบริษัททั้งหลาย ดังนั้นในการเขียนประวัติของวัด จึงแบ่งเป็น ๓ ตอน คือ ๑. วัดป่าแดง ๒. วัดพระโต และ ๓. วัดมหาพุทธาราม ดังนี้
ตอนที่ ๑ วัดป่าแดง
               วัดมหาพุทธาราม เป็นวัดโบราณมีอายุเก่าแก่ เดิมทีเดียวชาวบ้าน เรียกชื่อว่า วัดป่าแดง ๆ จะสร้างขึ้นในสมัยใด ใครเป็นผู้สร้าง ยังไม่มีหลักฐานยืนยันแน่ชัด แต่จากการสันนิษฐานตามลักษณะการตั้งชุมชนพื้นที่และการแผ่ขยายอำนาจมายังดินแดนอีสานใต้ของนครจำปาสัก วัดป่าแดง น่าจะสร้างในสมัยเมืองศรีนครเขต และตรงกับสมัยเจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูร เจ้าผู้ครองนครจำปาสัก ซึ่งในสมัยนั้น เจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็ก พระมหาสมณะยอดแก้ว (เทียบพระสังฆราช) แห่งนครจำปาศักดิ์ เป็นพระสงฆ์ที่ได้รับความเคารพศรัทธาอย่างยิ่งของเจ้าผู้ครองนครจำปาสัก พร้อมด้วยข้าราชบริพาร ตลอดจนประชาชนชาวเมืองจำปาสักและเมืองเวียงจันทน์ จนได้รับการตั้งสมญานามว่า “ญาครูขี้หอม”
สืบเนื่องมาจากเหตุการณ์ทางการเมืองทำให้อาณาจักรลาวแบ่งออกเป็น ๓ อาณาจักร คือ หลวงพระบาง เวียงจันทน์ และจำปาสัก ทางลาวใต้ มีนครจำปาศักดิ์ เป็นเมืองหลวง มีแม่หญิงชื่อเจ้านางแพง บุตรีนางเภากับเจ้าปางคำ เจ้าลาวฝ่ายเหนือ (นครเชียงรุ้ง) เป็นผู้ปกครอง แต่เนื่องจากแม่หญิงแพงเป็นสตรีจึงมอบอำนาจการปกครองให้เจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็ก เป็นผู้สำเร็จราชการแทน เจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็กพิจารณาเห็นว่า การบ้านการเมือง เป็นเรื่องของฆราวาส ไม่เหมาะสมแก่สมณวิสัย จึงให้บริวารไปอัญเชิญเจ้าองค์หล่อจากเมืองเวียงจันทน์มาเป็นเจ้าปกครองนครจำปาศักดิ์ มีพระนามว่า เจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูร ส่วนเจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็ก (หรือญาครูขี้หอม) เมื่อส่งมอบหน้าที่ปกครองบ้านเมืองแก่เจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูรแล้ว จึงจัดส่งศิษย์ที่มีความรู้ความสามารถอกไปครองและตั้งเมืองต่าง ๆ โดยให้ขึ้นตรงต่ออำนาจการปกครองของเมืองจำปาศักดิ์มาตั้งแต่บัดนั้น อาณาเขตจำปาศักดิ์จึงแผ่ครอบคลุมบริเวณพื้นที่อีสานตอนใต้ ได้แก่บริเวณจังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ และบุรีรัมย์ ในปัจจุบัน
สำหรับศิษย์เอกที่เจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็กแห่งเมืองจำปาสัก ส่งออกไปหาที่สร้างบ้านแปลงเมืองที่ปรากฏตามหลักฐานมีหลายท่าน เช่น ๑) ให้จารย์ฮวด เป็นเจ้าเมืองสี่พันดอน (สีทันดร/สี่พันดร ก็เรียก) ๒) ให้ท้าวมั่น ไปครองเมืองสาละวัน ๓) ให้จารย์แก้ว ไปครองเมืองท่ง (กุลา) หรือเมืองสุวรรณภูมิ ๔) ให้จารย์เชียง ไปครองเมืองศรีนครเขต (ศรีสะเกษ)
ดังนั้น เมื่อวิเคราะห์ทางตำนานและหลักฐานประกอบ เช่น ตำนานพระอุรังคธาตุ ประวัติพระธาตุพนม ประวัติเมืองเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน (หนองบัวลำภู) ยุคพระตา พระวอ ประวัติการตั้งเมืองอุบลราชธานี และตำนานบ้านละทาย เมืองอินทเกษ และเมืองชีทวน เพื่อค้นหาร่องรอยบรรพบุรุษผู้สร้างวัดป่าแดง (วัดมหาพุทธาราม) จึงอนุมานได้ว่า เจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็ก พระมหาสมณะยอดแก้ว แห่งนครจำปาศักดิ์ เป็นพระมหาเถระผู้ทรงวิทยาคุณ เป็นหลักชัยแห่งพระพุทธศาสนา และประชาชนในยุคนั้น ต่างให้ความเคารพศรัทธาเป็นอย่างยิ่ง หลังจากส่งศิษย์ที่มีความรู้ความสามารถ โดยเฉพาะศิษย์ทั้งหลายเหล่านั้น ล้วนแต่ผ่านการบวชเรียนมาแล้ว ไปตั้งบ้านแปลงเมืองในที่ต่าง ๆ อาจเป็นไปได้ว่า เมื่อศิษย์เหล่านั้นมีอำนาจวาสนาบารมี สร้างบ้านสร้างเมืองเป็นปึกแผ่นดีแล้ว ก็ได้สร้างวัดประจำเมือง หรือประจำตระกูลขึ้น เช่น จารย์เชียง แห่งบ้านโนนสามขา ผู้ตั้งเมืองศรีนครเขต สร้างวัดป่าแดง (วัดมหาพุทธาราม) ตามคำบัญชาของเจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็ก ระหว่าง พ.ศ.๒๒๔๕-๒๒๖๓ แต่การสร้างวัดในยุคนั้น อาจเป็นวัดเล็ก ๆตั้งอยู่ท้ายเมือง ข้อที่น่าสังเกต ได้แก่บริเวณที่สร้างวัดเป็นป่าไม้แดง หรือไม่ก็สร้างให้เป็นวัดฝ่ายอรัญวาสี เน้นการปฏิบัติพระกัมมัฏฐานเป็นหลัก จึงได้ตั้งชื่อว่า “วัดป่าแดง” 
            หลังจากเจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็กย่างเข้าสู่วัยชราภาพ ได้กลับไปตั้งหลักแหล่งในบั้นปลายชีวิต ณ เมืองจำปาศักดิ์ และถึงแก่มรณภาพ เมื่อวันขึ้น ๕ ค่ำ เดือน ๗ พ.ศ.๒๒๖๓ สิริอายุได้ ๙๐ ปี ๗๐ พรรษา อัฐิบางส่วนของท่านบรรจุอยู่ที่อูบโมงค์หรืออูบเจดีย์ นอกกำแพงแก้วองค์พระธาตุพนม ณ วัดพระธาตุพนม มาตราบเท่าทุกวันนี้ หลังการมรณภาพของเจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็กแล้ว บรรดาศิษย์ทั้งหลายขาดพระอาจารย์ผู้เป็นเสาหลัก  และเกิดเหตุการณ์วุ่นวายทางการเมืองทางนครจำปาศักดิ์ วัดป่าแดงขาดการอุปถัมภ์บำรุง พระสงฆ์ผู้มีความชำนาญด้านพระกัมมัฏฐานก็หายาก ในที่สุดวัดป่าแดงก็กลายเป็นวัดร้างภายในเวลาไม่ถึง ๑๐๐ ปี (ระหว่าง พ.ศ.๒๒๕๓-๒๓๒๘)

ปราสาทหินวัดสระกำแพงน้อย,ปราสาทหินสระกำแพงน้อย จังหวัดศรีสะเกษ





ปราสาทหินวัดสระกำแพงน้อย อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ ตั้งอยู่บริเวณวัดสระกำแพงน้อย
ถนนสายศรีสะเกษ-อุทุมพรพิสัย นักท่องเที่ยวส่วนมาก
จะไม่ค่อยให้ความสนใจมากนักมักจะเลยไปเที่ยวชม
ปราสาทวัดสระกำแพงใหญ่ที่ตัวปราสาทใหญ่กว่ามาก
และตั้งอยู่ในเขตเทศบาลอำเภออุทุมพรพิสัย
แต่ปราสาทหินวัดสระกำแพงน้อยก็มีความงามไม่แพ้กัน
แม้จะเล็กกว่า แต่ที่นี่ก็งดงามปรับปรุงใหม่ และที่สำคัญ
ปราสาทหินวัดสระกำแพงน้อยแห่งนี้ยังมีบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ บ่อน้ำโบราณที่มีมาตั้งแต่สมัยพระ้จ้าชัยวรมันทีเดียว
บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่ว่านี้ตั้งอยู่ข้างๆ






ปราสาทวัดสระกำแพงใหญ่ อ.อุทุมพรพิสัย จ.ศรีสะเกษ

   ปราสาทวัดสระกำแพงใหญ่ ตั้งอยู่ภายในวัดสระกำแพงใหญ่ บ้านกำแพงใหญ่ ตำบลสระกำแพงใหญ่ จังหวัดศรีสะเกษ (การเดินทางติดตามได้ที่ด้านล่าง) ปราสาทวัดสระกำแพงใหญ่ ลักษณะสถาปัตยกรรมขอมแบบบาปวน เชื่อกันว่าสร้างขึ้นในสมัยพุทธศตวรรษที่ 16 เพื่อใช้เป็นเทวาลัยบูชาพระศิวะตามความเชื่อของศาสนาฮินดู ลัทธิไศวะนิกาย และได้มีการเปลี่ยนแปลงเป็นวัดในพุทธศาสนานิกายมหายานในพุทธศตวรรษที่ 18องค์ปราสาทสระกำแพงใหญ่ มีลักษณะเป็นปรางค์ 3 องค์ ตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ปรางค์ประธานองค์กลางก่อด้วยศิลาทราย ส่วนปรางค์อีก 2 องค์ มีขนาดเล็กกว่าก่อด้วยอิฐ ด้านหลังปรางค์องค์ทิศใต้มีปรางค์ก่อด้วยอิฐอีกองค์หนึ่ง หันหน้าไปทางทิศตะวันออกเช่นเดียวกัน


ปราสาทสระกำแพงใหญ่ อ.อุทุมพรพิสัย จ.ศรีสะเกษ ปราสาทสระกำแพงใหญ่ อ.อุทุมพรพิสัย จ.ศรีสะเกษ ปราสาทสระกำแพงใหญ่ อ.อุทุมพรพิสัย จ.ศรีสะเกษ
บรรยากาศโดยรอบวัดปราสาทสระกำแพงใหญ่้ที่แสดงให้เห็นถึงความแตกต่างของสิ่งก่อสร้างต่างสมัย

ปราสาทสระกำแพงใหญ่ อ.อุทุมพรพิสัย จ.ศรีสะเกษ ลวดลายบนวงกบหน้าต่าง ปราสาทสระกำแพงใหญ่ อ.อุทุมพรพิสัย จ.ศรีสะเกษ ปราสาทสระกำแพงใหญ่ อ.อุทุมพรพิสัย จ.ศรีสะเกษ ปราสาทสระกำแพงใหญ่ อ.อุทุมพรพิสัย จ.ศรีสะเกษ
ซุ้มประตู และช่องหน้าต่างภายในโบราณสถานปราสาทสระกำแพงใหญ่้

ปราสาทสระกำแพงใหญ่ อ.อุทุมพรพิสัย จ.ศรีสะเกษ ปราค์ประธาน ปราสาทสระกำแพงใหญ่ อ.อุทุมพรพิสัย จ.ศรีสะเกษ ทางเดิน ปราสาทสระกำแพงใหญ่ อ.อุทุมพรพิสัย จ.ศรีสะเกษ พระปรางค์ปราสาทสระกำแพงใหญ่ อ.อุทุมพรพิสัย จ.ศรีสะเกษ
ปรางค์ประธาน ปรางค์รอง และระเบียงคต


     นอกจากปรางค์ทั้งสี่องค์นี้แล้ว ด้านหน้าของปรางค์องค์รองสององค์ มีวิหารก่ออิฐด้านละหนึ่งหลัง หันหน้าเข้าหาปรางค์ทั้งสององค์ สิ่งก่อสร้างทั้งหมดล้อมรอบด้วยระเบียงคตรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าก่อด้วยศิลาแลงองค์ปราสาทสร้างจากหินทราย และศิลาแลงขนาดใหญ่ บริเวณหน้าบันของปรางค์แต่ละปราสาทยังคงมีทับหลังจำหลักเรื่องราวทางเทวนิยม เช่นพระนารายณ์ พระอิศวร ฯลฯ ที่ยังคงสภาพค่อนข้างดี ให้นักท่องเที่ยวได้มาชื่นชม และรำลึกถึงครั้นยังรุ่งเรืองว่าปราสาทแห่งนี้จะงดงามและยิ่งใหญ่ขนาดไหน ปัจจุบันปราสาทวัดสระกำแพงใหญ่ได้รับการบูรณะ และอยู่ภายใต้การดูแลของกรมศิลปากร ส่วนภายนอกปราสาทหินที่วัดสระกำแพงใหญ่ มีพระอุโบสถ และพระประธานให้ทุกท่านสามารถแวะกราบไหว้บูชาเพื่อเป็นสิริมงคลอีกด้วย


การเดินทาง
 (ขอบคุณที่มาการเดินทางจาก ททท.)
     ตั้งอยู่ที่บ้านกำแพงใหญ่ ตำบลสระกำแพงใหญ่ ริมทางหลวงหมายเลข 226 ห่างจากจังหวัด 26 กิโลเมตร ห่างจากตัวอำเภอ 2 กิโลเมตร

ไหว้พระให้ชีวิตจะรุ่งเรือง ที่พระธาตุเรืองรอง อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ

พระธาตุเรืองรอง เป็นอาคารสูงที่มีลักษณะสถาปัตยกรรมแบบผสมผสานแนวศิลปวัฒนธรรมของสี่ชนเผ่าของอีสานใต้ คือ ลาว ส่วย เขมร และเยอ เริ่มก่อสร้างขึ้นเมื่อประมาณ เกือบ 30 ปีก่อนด้วยความร่วมมือจากพุทธศานิกชนที่มีความศรัทธา ต้องการให้มีสถานที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุในพื้นที่ใกล้เคียง เพื่อเป็นสิริมงคลและแทนการเดินทางไปยังจังหวัดที่ห่างไกล ไม่สะดวก ตัวอาคารมีการประดับสวดลายอย่างสวยงาม มีสถานที่จอดรถสามารถรองรับนักท่องเที่ยวและรถทัวร์ได้ ดังนั้นเมื่อทุกท่านพร้อมแล้วทีมงานท่องเที่ยวดอทคอมของเราจะพาทุกท่านติดตามกันไปเยี่ยมชมภายในบริเวณพระธาตุเรืองรองกัน


วัดพระธาตุเรืองรอง อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ หน้าบันพระอุโบสถ วัดพระธาตุเรืองรอง อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ วัดพระธาตุเรืองรอง อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ ทัศนียภาพเมื่อมองจากมุมสูง วัดพระธาตุเรืองรอง อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ
บรรยากาศโดยรอบวัดพระธาตุเรืองรอง

วัดพระธาตุเรืองรอง อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ พระบรมสารีริกธาตุ วัดพระธาตุเรืองรอง อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ วัดพระธาตุเรืองรอง อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ วัดพระธาตุเรืองรอง อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ
ภายในพระวิหารวัดพระธาตุเรืองรอง(สองภาพกลาง) และบรรยากาศภายนอก(สองภาพด้านนอก)

รูบปั้นความเทียมเกวียนยักษ์ด้านหน้าพระอุโบสถ วัดพระธาตุเรืองรอง อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ บรรยากาศระยะไกลรอบ ๆ  วัดพระธาตุเรืองรอง อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ วัดพระธาตุเรืองรอง อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ
โบสถ์ภายในอาคารเทียมเกวียน ทิวทัศน์ถ่ายภาพจากชั้นบนของวัดพระธาตุเรืองรอง


     เมื่อก้าวเข้าสู่ประตูของพระธาตุเรืองรอง ท่านจะได้พบกับรูปปั้นวัวคู่ยักษ์เทียมเกวียนขนาดใหญ่สูงประมาณตึกสองชั้นต้อนรับท่านอยู่ ส่วนที่วัวเทียมเกวียนนั้นเป็นโบสถ์ภายในมีพระประธานประดิษฐานอยู่ให้นักท่องท่องเที่ยวกราบไหว้บูชา นอกจากนั้นบริเวณโดยรอบด้านล่างพระธาตุเรืองรองนั้น ยังมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เป็นที่เคารพบูชาของชาวบ้านในชุมชน ส่วนด้านหลังมีวัตถุมงคลและหนังสือธรรมะให้เช่าบูชา และที่เป็นจุดเด่นอีกอย่างหนึ่งของพระธาตุเรืองรองคือ ป้ายที่บรรจุถ้อยคำสั่งสอน และคติเตือนใจต่าง ๆ  ให้คนที่ผ่านมาอ่านได้เตือนสติ เตือนกาย เตือนใจตัวเองไม่ให้ประมาทในการดำเนินชีวิต

จิตรกรรมฝาผนังรูปสัตว์ต่าง ๆ วัดพระธาตุเรืองรอง อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ จิตรกรรมฝาผนังรูปสัตว์ต่าง ๆ วัดพระธาตุเรืองรอง อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ จิตรกรรมฝาผนังรูปสัตว์ต่าง ๆ วัดพระธาตุเรืองรอง อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ จิตรกรรมฝาผนังรูปสัตว์ต่าง ๆ วัดพระธาตุเรืองรอง อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ
ภาพจิตรกรรมฝาผนังภาพสัตว์ต่าง ๆ ในวรรณคดี

     เมื่อเข้าสู่พระธาตุเรืองรองชั้นล่างสุดจากมีรูปปั้นแสดงประเพณี วัฒนธรรมต่าง ๆ ในท้องถิ่น และบนขื่อคานมีภาพจิตรกรรมเล่าเรื่องราวพร้อมคำบรรยายเกี่ยวกับตำนานความเชื่อต่าง ๆ  เมื่อขึ้นมาถึงชั้นสองชั้นสาม เรียกได้ว่าเป็นพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านได้เลยทีเดียว เนื่องจากเต็มไปด้วยเครื่องมือ เครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน ในการประกอบอาชีพต่าง ๆ เช่นเครื่องปั้นดินเผา ถ้วยชามต่าง ๆ เครื่องมือดักสัตว์ อาวุธ เตารีด อุปกรณ์การเลี้ยงหม่อนไหม เตารีดโบราณ เครื่องเล่นแผ่นเสียงหนังสือตำรับตำราต่าง ๆ ที่น่าสนใจมากมาย ตามผนังจะมีภาพเขียนสถานที่ท่องเที่ยว เหตุการณ์ต่าง ๆ ของจังหวัดศรีสะเกษ นอกจากนั้นระเบียงภายนอกทั้งสี่ด้านเป็นห้องจำลองชีวิตความเป็นอยู่ กิจกรรมประเพณีของชนเผ่าทั้งสี่เผ่า ลาว ส่วย เขมร และเยอ ชั้นบนสุดเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ รวมถึงเป็นจุดชมวิวทิวทัศน์มุมสูงที่สบายตาอีกแห่งหนึ่ง

1 ใน 4 ชนเผ่าดั้งเดิม วัดพระธาตุเรืองรอง อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ 1 ใน 4 ชนเผ่าดั้งเดิม วัดพระธาตุเรืองรอง อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ 1 ใน 4 ชนเผ่าดั้งเดิม วัดพระธาตุเรืองรอง อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ
พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านแสดงวิถีชีวิตชนเผ่าลาว ส่วย เขมร และเยอ ผ่านหุ่นจำลอง

วัดพระธาตุเรืองรอง อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ 1 ใน 4 ชนเผ่าดั้งเดิม วัดพระธาตุเรืองรอง อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ 1 ใน 4 ชนเผ่าดั้งเดิม วัดพระธาตุเรืองรอง อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ
หุ่นแสดงวัฒนธรรม และหุ่นจำลองวิถีการดำเนินชีวิตคนพื้นบ้านในอดีต

วัดพระธาตุเรืองรอง อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ โบราณวัตถุต่าง ๆ ภายในพิพิธภัณฑ์ วัดพระธาตุเรืองรอง อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ โบราณวัตถุต่าง ๆ ภายในพิพิธภัณฑ์ วัดพระธาตุเรืองรอง อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ วัดพระธาตุเรืองรอง อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ
ข้าวของเครื่องใช้ในสมัยโบราณภายในพิพิธภัณฑ์วัดพระธาตุเรืองรอง


การเดินทาง
 (ขอบคุณที่มาการเดินทางจาก ททท.)
     ตั้งอยู่ที่บ้านสร้างเรือง ตำบลหญ้าปล้อง ห่างจากเมืองไปตามทางหลวงหมายเลข 2373 สายศรีสะเกษ-ยางชุมน้อย ประมาณ 7.5 กิโลเมตร

วันอาทิตย์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2557

แหลงท่องเที่ยวในโรงเรียนมหาราช 3

เชิญชวนมาท่องเที่ยววิถีชีวิต วัฒนธรรมประเพณีและต้นพยุงทองมหาราช 3 9 ต้นไม้หายาก