วันอังคารที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2560

สาระการเรียนรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอีสานใต้ วิสัยทัศน์ (Vision) ผู้เรียนเกิดความภาคภูมิใจ ตระหนักถึงความสำคัญ และมีส่วนร่วมรักษาเอกลักษณ์ประวัติศาสตร์แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอีสานใต้ธำรงรักษาไว้ซึ่งมรดกทางวัฒนธรรม ประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น หลักการ รายวิชาเพิ่มเติม สาระการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอีสานใต้ เป็นสาระการเรียนรู้ที่ว่าด้วยการศึกษา ค้นคว้า เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่น สถานที่สำคัญ แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม โบราณสถาน โบราณวัตถุ ภายในจังหวัดศรีสะเกษ ด้วยการนำเสนอผลการสำรวจ สืบค้น จัดการความรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่นภายในจังหวัดศรีสะเกษ ในรูปแบบเอกสารประกอบการเรียนรู้ โครงงานมัคคุเทศก์น้อย และการสร้างเครือข่ายออนไลน์ ตระหนักถึงคุณค่าและร่วมรักษาเอกลักษณ์ประวัติศาสตร์ของท้องถิ่น และร่วมรักษาแหล่งท่องเที่ยวสำคัญในท้องถิ่น มีส่วนร่วมในการธำรงรักษาไว้ซึ่งมรดกทางวัฒนธรรม ประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่นมีความรู้ ทักษะ คุณธรรม และค่านิยมที่เหมาะสมโดยได้กำหนดสาระต่างๆไว้ ดังนี้ ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรมประวัติความสำคัญของศาสนา และมีส่วนร่วมในการบำรุงรักษาศาสนสถานของศาสนาที่ตนนับถือ การเมืองการปกครอง/ประเพณี วัฒนธรรมวิถีการดำเนินชีวิต วัฒนธรรม ประเพณีของกลุ่มคนในท้องถิ่น และภูมิปัญญาท้องถิ่น เศรษฐศาสตร์สภาวะเศรษฐกิจหลักการความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจของคนในชุมชนและนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในชีวิตประจำวัน ประวัติศาสตร์ เวลาและยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ วิธีการทางประวัติศาสตร์ พัฒนาการทางประวัติศาสตร์และยกตัวอย่างบุคคลสำคัญทางประวัติศาสตร์ในท้องถิ่น ภูมิศาสตร์ /ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ลักษณะของประเทศทางกายภาพ แหล่งทรัพยากร และแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของชุมชนที่ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตและมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรในท้องถิ่น สาระการเรียนรู้ 1. ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม 2. การเมืองการปกครอง / ประเพณีวัฒนธรรม 3. เศรษฐกิจ 4. ประวัติศาสตร์ 5. ภูมิศาสตร์/ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม คุณภาพผู้เรียน 1. มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่น สถานที่สำคัญ แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม โบราณสถาน โบราณวัตถุ ภายในจังหวัดศรีสะเกษ 2. มีทักษะการสำรวจ สืบค้น จัดการความรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่นภายในจังหวัดศรีสะเกษ 3. ตระหนักถึงคุณค่าและร่วมรักษาเอกลักษณ์ประวัติศาสตร์ของท้องถิ่น และร่วมรักษาแหล่งท่องเที่ยวสำคัญในท้องถิ่น มีส่วนร่วมในการธำรงรักษาไว้ซึ่งมรดกทางวัฒนธรรม ประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น จุดหมาย 1. ผู้เรียน มีความรู้ ความเข้าใจ การบำรุงรักษาศาสนสถานของศาสนาที่ตนนับถือ 2. ผู้เรียน มีความรู้ ความเข้าใจ สามารถอธิบายวิถีการดำเนินชีวิต วัฒนธรรม ประเพณีของกลุ่มคนในท้องถิ่น และภูมิปัญญาท้องถิ่น 3. ผู้เรียนอธิบายหลักการความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจของคนในชุมชนและนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในชีวิตประจำวัน 4. ผู้เรียนอธิบายพัฒนาการทางประวัติศาสตร์และยกตัวอย่างบุคคลสำคัญทางประวัติศาสตร์ในท้องถิ่น 5. ผู้เรียนระบุแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของชุมชนที่ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตและมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรในท้องถิ่น สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน รายวิชาเพิ่มเติม สาระการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอีสานใต้มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้ ซึ่งการพัฒนาผู้เรียนให้บรรลุตามมาตรฐานการเรียนรู้ที่กำหนดนั้น จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 มี 5 ประการ ดังนี้ 1. ความสามารถในการสื่อสารเป็นความสามารถในการรับและส่งสาร มีวัฒนธรรมในการใช้ภาษาถ่ายทอดความคิด ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึก และทัศนะของตนเองเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร และประสบการณ์อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเอง สังคม และประเทศสมาชิกในกลุ่มอาเซียน รวมทั้งการเจรจาต่อรองเพื่อขจัดและลดปัญหาความขัดแย้งต่าง ๆ การเลือกรับหรือไม่รับข้อมูลข่าวสารด้วยหลักเหตุผล และความถูกต้อง ตลอดจนการเลือกใช้วิธีการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่มีต่อตนเองสังคม และประเทศสมาชิกในกลุ่มอาเซียน 2. ความสามารถในการคิดเป็นความสามารถในการคิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์ การคิดอย่างสร้างสรรค์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการคิดเป็นระบบ เพื่อนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้หรือสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจเกี่ยวกับตนเอง สังคม และประเทศสมาชิกในกลุ่มอาเซียนได้อย่างเหมาะสม 3. ความสามารถในการแก้ปัญหาเป็นความสามารถในการแก้ปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ที่เผชิญได้อย่างถูกต้องเหมาะสมบนพื้นฐานของหลักเหตุผล คุณธรรมและข้อมูลสารสนเทศ เข้าใจความสัมพันธ์และการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์ต่าง ๆ ในสังคม แสวงหาความรู้ ประยุกต์ความรู้มาใช้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหา และมีการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อตนเอง สังคม สิ่งแวดล้อมและประเทศสมาชิกในกลุ่มอาเซียน 4. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิตเป็นความสามารถในการนำกระบวนการต่าง ๆ ไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง การทำงาน และการอยู่ร่วมกันในสังคมด้วยการสร้างเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคล การจัดการปัญหาและความขัดแย้งต่าง ๆ อย่างเหมาะสม การปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและสภาพแวดล้อมและการรู้จักหลีกเลี่ยงพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ที่ส่งผลกระทบต่อตนเองและประเทศสมาชิกในกลุ่มอาเซียน 5. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเป็นความสามารถในการเลือกและใช้เทคโนโลยีด้าน ต่าง ๆ และมีทักษะกระบวนการทางเทคโนโลยี เพื่อการพัฒนาตนเอง สังคม และประเทศสมาชิกในกลุ่มอาเซียน ในด้านการเรียนรู้ การสื่อสาร การทำงาน การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ถูกต้องเหมาะสม และมีคุณธรรม คุณลักษณะอันพึงประสงค์ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมและประเทศสมาชิกในกลุ่มอาเซียนได้อย่างมีความสุข ในฐานะเป็นพลเมืองไทยและพลโลก ดังนี้ 1. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ 2. ซื่อสัตย์สุจริต 3. มีวินัย 4. ใฝ่เรียนรู้ 5. อยู่อย่างพอเพียง 6. มุ่งมั่นในการทำงาน 7. รักความเป็นพลเมืองดีในกลุ่มอาเซียน 8. มีจิตสาธารณะ

หลักสูตรท่องเที่ยว


สาระการเรียนรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอีสานใต้ วิสัยทัศน์ (Vision) ผู้เรียนเกิดความภาคภูมิใจ ตระหนักถึงความสำคัญ และมีส่วนร่วมรักษาเอกลักษณ์ประวัติศาสตร์แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอีสานใต้ธำรงรักษาไว้ซึ่งมรดกทางวัฒนธรรม ประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น หลักการ รายวิชาเพิ่มเติม สาระการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอีสานใต้ เป็นสาระการเรียนรู้ที่ว่าด้วยการศึกษา ค้นคว้า เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่น สถานที่สำคัญ แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม โบราณสถาน โบราณวัตถุ ภายในจังหวัดศรีสะเกษ ด้วยการนำเสนอผลการสำรวจ สืบค้น จัดการความรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่นภายในจังหวัดศรีสะเกษ ในรูปแบบเอกสารประกอบการเรียนรู้ โครงงานมัคคุเทศก์น้อย และการสร้างเครือข่ายออนไลน์ ตระหนักถึงคุณค่าและร่วมรักษาเอกลักษณ์ประวัติศาสตร์ของท้องถิ่น และร่วมรักษาแหล่งท่องเที่ยวสำคัญในท้องถิ่น มีส่วนร่วมในการธำรงรักษาไว้ซึ่งมรดกทางวัฒนธรรม ประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่นมีความรู้ ทักษะ คุณธรรม และค่านิยมที่เหมาะสมโดยได้กำหนดสาระต่างๆไว้ ดังนี้ ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรมประวัติความสำคัญของศาสนา และมีส่วนร่วมในการบำรุงรักษาศาสนสถานของศาสนาที่ตนนับถือ การเมืองการปกครอง/ประเพณี วัฒนธรรมวิถีการดำเนินชีวิต วัฒนธรรม ประเพณีของกลุ่มคนในท้องถิ่น และภูมิปัญญาท้องถิ่น เศรษฐศาสตร์สภาวะเศรษฐกิจหลักการความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจของคนในชุมชนและนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในชีวิตประจำวัน ประวัติศาสตร์ เวลาและยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ วิธีการทางประวัติศาสตร์ พัฒนาการทางประวัติศาสตร์และยกตัวอย่างบุคคลสำคัญทางประวัติศาสตร์ในท้องถิ่น ภูมิศาสตร์ /ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ลักษณะของประเทศทางกายภาพ แหล่งทรัพยากร และแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของชุมชนที่ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตและมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรในท้องถิ่น สาระการเรียนรู้ 1. ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม 2. การเมืองการปกครอง / ประเพณีวัฒนธรรม 3. เศรษฐกิจ 4. ประวัติศาสตร์ 5. ภูมิศาสตร์/ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม คุณภาพผู้เรียน 1. มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่น สถานที่สำคัญ แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม โบราณสถาน โบราณวัตถุ ภายในจังหวัดศรีสะเกษ 2. มีทักษะการสำรวจ สืบค้น จัดการความรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่นภายในจังหวัดศรีสะเกษ 3. ตระหนักถึงคุณค่าและร่วมรักษาเอกลักษณ์ประวัติศาสตร์ของท้องถิ่น และร่วมรักษาแหล่งท่องเที่ยวสำคัญในท้องถิ่น มีส่วนร่วมในการธำรงรักษาไว้ซึ่งมรดกทางวัฒนธรรม ประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น จุดหมาย 1. ผู้เรียน มีความรู้ ความเข้าใจ การบำรุงรักษาศาสนสถานของศาสนาที่ตนนับถือ 2. ผู้เรียน มีความรู้ ความเข้าใจ สามารถอธิบายวิถีการดำเนินชีวิต วัฒนธรรม ประเพณีของกลุ่มคนในท้องถิ่น และภูมิปัญญาท้องถิ่น 3. ผู้เรียนอธิบายหลักการความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจของคนในชุมชนและนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในชีวิตประจำวัน 4. ผู้เรียนอธิบายพัฒนาการทางประวัติศาสตร์และยกตัวอย่างบุคคลสำคัญทางประวัติศาสตร์ในท้องถิ่น 5. ผู้เรียนระบุแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของชุมชนที่ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตและมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรในท้องถิ่น สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน รายวิชาเพิ่มเติม สาระการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอีสานใต้มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้ ซึ่งการพัฒนาผู้เรียนให้บรรลุตามมาตรฐานการเรียนรู้ที่กำหนดนั้น จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 มี 5 ประการ ดังนี้ 1. ความสามารถในการสื่อสารเป็นความสามารถในการรับและส่งสาร มีวัฒนธรรมในการใช้ภาษาถ่ายทอดความคิด ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึก และทัศนะของตนเองเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร และประสบการณ์อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเอง สังคม และประเทศสมาชิกในกลุ่มอาเซียน รวมทั้งการเจรจาต่อรองเพื่อขจัดและลดปัญหาความขัดแย้งต่าง ๆ การเลือกรับหรือไม่รับข้อมูลข่าวสารด้วยหลักเหตุผล และความถูกต้อง ตลอดจนการเลือกใช้วิธีการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่มีต่อตนเองสังคม และประเทศสมาชิกในกลุ่มอาเซียน 2. ความสามารถในการคิดเป็นความสามารถในการคิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์ การคิดอย่างสร้างสรรค์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการคิดเป็นระบบ เพื่อนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้หรือสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจเกี่ยวกับตนเอง สังคม และประเทศสมาชิกในกลุ่มอาเซียนได้อย่างเหมาะสม 3. ความสามารถในการแก้ปัญหาเป็นความสามารถในการแก้ปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ที่เผชิญได้อย่างถูกต้องเหมาะสมบนพื้นฐานของหลักเหตุผล คุณธรรมและข้อมูลสารสนเทศ เข้าใจความสัมพันธ์และการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์ต่าง ๆ ในสังคม แสวงหาความรู้ ประยุกต์ความรู้มาใช้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหา และมีการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อตนเอง สังคม สิ่งแวดล้อมและประเทศสมาชิกในกลุ่มอาเซียน 4. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิตเป็นความสามารถในการนำกระบวนการต่าง ๆ ไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง การทำงาน และการอยู่ร่วมกันในสังคมด้วยการสร้างเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคล การจัดการปัญหาและความขัดแย้งต่าง ๆ อย่างเหมาะสม การปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและสภาพแวดล้อมและการรู้จักหลีกเลี่ยงพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ที่ส่งผลกระทบต่อตนเองและประเทศสมาชิกในกลุ่มอาเซียน 5. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเป็นความสามารถในการเลือกและใช้เทคโนโลยีด้าน ต่าง ๆ และมีทักษะกระบวนการทางเทคโนโลยี เพื่อการพัฒนาตนเอง สังคม และประเทศสมาชิกในกลุ่มอาเซียน ในด้านการเรียนรู้ การสื่อสาร การทำงาน การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ถูกต้องเหมาะสม และมีคุณธรรม คุณลักษณะอันพึงประสงค์ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมและประเทศสมาชิกในกลุ่มอาเซียนได้อย่างมีความสุข ในฐานะเป็นพลเมืองไทยและพลโลก ดังนี้ 1. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ 2. ซื่อสัตย์สุจริต 3. มีวินัย 4. ใฝ่เรียนรู้ 5. อยู่อย่างพอเพียง 6. มุ่งมั่นในการทำงาน 7. รักความเป็นพลเมืองดีในกลุ่มอาเซียน 8. มีจิตสาธารณะ
การจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในโรงเรียน พีระพรรณ ทองศูนย์ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านคอกหนองไพร โรงเรียนเป็นหน่วยงานที่อยู่ในท้องถิ่นและมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาคนที่เป็นกำลังสำคัญต่อการพัฒนาทุกด้าน โรงเรียนจัดการศึกษาตาม พรบ.การศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด ผู้เรียนมีความรู้ คุณธรรม การจัดการเรียนรู้ใช้กระบวนการเรียนรู้และบูรณาการให้ผู้เรียนมีความรู้เรื่องเกี่ยวกับตนเอง ความสัมพันธ์ของตนเองกับสังคม ความรู้เกี่ยวกับศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม การกีฬา ภูมิปัญญาไทยและการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญา ภูมิปัญญาท้องถิ่นและแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นเป็นสิ่งที่มีคุณค่าทางการศึกษาที่โรงเรียนสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการจัดการเรียนการสอน การจัดการความรู้ มีองค์ประกอบสำคัญคือ ครู ข้อมูลความรู้ เทคโนโลยีและกระบวนการวิธีการ การนำภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อจัดการเรียนการสอน สามารถทำได้หลายวิธี เช่น จัดเข้ามาไว้ในระบบการศึกษา โดยจัดทำเป็นหลักสูตรให้เรียน โดยโรงเรียนสามารถนำกระบวนการจัดการความรู้เข้ามาจัดการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นให้นักเรียนเป็นผู้แสวงหาความรู้ที่มีอยู่ในท้องถิ่น นำความรู้ที่ได้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน จัดความรู้ให้เป็นระบบ นำความรู้ถ่ายทอดในรูปแบบต่างๆ เช่น เอกสารแนะนำความรู้ หนังสือเล่มเล็ก แสดงละคร ดนตรี จัดนิทรรศการ จัดทำเป็นโครงงาน ทำเป็นแผนที่ความคิด เล่าเรื่องราว วาดภาพ จัดทำ blog Website และการเรียนรู้ เพื่อนำเสนอภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ดังนั้นกระบวนการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมมีความสอดคล้องกับการจัดการศึกษาในปัจจุบันที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ผู้เรียนเป็นผู้มีบทบาทในการค้นคว้า สร้างองค์ความรู้และนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ ความเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้น รวมทั้งการเรียนการสอนจะไม่น่าเบื่อ เพราะผู้เรียนได้ทำกิจกรรมน่าสนใจ ทำให้ผู้เรียนเห็นคุณค่าของตนเอง เกิดความรักความผูกพัน การเป็นเจ้าของของชุมชนและเกิดความสำนึกที่จะพัฒนาชุมชนของตนเองด้วยจิตสำนึกที่ดี รวมทั้งการสร้างอาชีพ รายได้อีกทางหนึ่ง การจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในโรงเรียน พีระพรรณ ทองศูนย์ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านคอกหนองไพร โรงเรียนเป็นหน่วยงานที่อยู่ในท้องถิ่นและมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาคนที่เป็นกำลังสำคัญต่อการพัฒนาทุกด้าน โรงเรียนจัดการศึกษาตาม พรบ.การศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด ผู้เรียนมีความรู้ คุณธรรม การจัดการเรียนรู้ใช้กระบวนการเรียนรู้และบูรณาการให้ผู้เรียนมีความรู้เรื่องเกี่ยวกับตนเอง ความสัมพันธ์ของตนเองกับสังคม ความรู้เกี่ยวกับศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม การกีฬา ภูมิปัญญาไทยและการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญา ภูมิปัญญาท้องถิ่นและแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นเป็นสิ่งที่มีคุณค่าทางการศึกษาที่โรงเรียนสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการจัดการเรียนการสอน การจัดการความรู้ มีองค์ประกอบสำคัญคือ ครู ข้อมูลความรู้ เทคโนโลยีและกระบวนการวิธีการ การนำภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อจัดการเรียนการสอน สามารถทำได้หลายวิธี เช่น จัดเข้ามาไว้ในระบบการศึกษา โดยจัดทำเป็นหลักสูตรให้เรียน โดยโรงเรียนสามารถนำกระบวนการจัดการความรู้เข้ามาจัดการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นให้นักเรียนเป็นผู้แสวงหาความรู้ที่มีอยู่ในท้องถิ่น นำความรู้ที่ได้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน จัดความรู้ให้เป็นระบบ นำความรู้ถ่ายทอดในรูปแบบต่างๆ เช่น เอกสารแนะนำความรู้ หนังสือเล่มเล็ก แสดงละคร ดนตรี จัดนิทรรศการ จัดทำเป็นโครงงาน ทำเป็นแผนที่ความคิด เล่าเรื่องราว วาดภาพ จัดทำ blog Website และการเรียนรู้ เพื่อนำเสนอภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ดังนั้นกระบวนการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมมีความสอดคล้องกับการจัดการศึกษาในปัจจุบันที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ผู้เรียนเป็นผู้มีบทบาทในการค้นคว้า สร้างองค์ความรู้และนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ ความเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้น รวมทั้งการเรียนการสอนจะไม่น่าเบื่อ เพราะผู้เรียนได้ทำกิจกรรมน่าสนใจ ทำให้ผู้เรียนเห็นคุณค่าของตนเอง เกิดความรักความผูกพัน การเป็นเจ้าของของชุมชนและเกิดความสำนึกที่จะพัฒนาชุมชนของตนเองด้วยจิตสำนึกที่ดี รวมทั้งการสร้างอาชีพ รายได้อีกทางหนึ่ง

สิมโบราณวัดบ้านหอย อ.เมือง จังหวัดศรีสะเกษ

 สิมโบราณวัดบ้านหอย
ตั้งอยู่ที่วัดหอย ต.หนองไผ่ อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ

สิมโบราณวัดบ้านหอยเป็นศิลปะล้านช้างที่มีอายุเก่าแก่และสวยงามอีกแห่งหนึ่ง ตั้งอยู่ในบริเวณวัดบ้านหอย ภายในสิมประดิษฐานพระพุทธรูปองค์ประธาน ประตูทางเข้าและหน้าต่างทำจากไม้แกะสลักอย่างวิจิตร  ผนังด้านข้างสลักรูปพระพุทธเจ้าและมีพระแม่ธรณีบีบมวยผมอยู่ด้านล่าง บันไดทางขึ้น ราวบันไดทั้งสองข้างสลักเป็นรูปปั้นพญานาคและยังมีการสลักในบริเวณอื่นๆอีก สิมแห่งนี้เป็นมรดกที่ควรได้รับการปฏิสังขรณ์ และอนุรักษ์ไว้ให้ลูกหลานได้เรียนรู้ด้านศิลปะ วัฒนธรรมและความเชื่อต่อไป










วันจันทร์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

สิมเก่าวัดคูซอด







สิมเก่าวัดคูซอด
ตั้งอยู่ที่เลขที่ 55 หมู่ 2 บ้านคูซอด ตำบลคูซอด อำเมือง จังหวัดศรีสะเกษ
โบสถ์หรือสิมวัดคูซอด ก่อสร้างเมื่อประมาณ 2449 มีลักษณะเป็นสิมโปร่ง ขนาดเล็ก หันหน้าไปทางทิศตะวันออก แผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 4.90 เมตร ยาว 4 เมตร รวมบันไดมีขนาด 2 ห้อง บันไดทางขึ้น 3 ขั้น อยู่ด้านหน้าค่อนไปทางด้านขวา(ทิศเหนือ) เล็กน้อย ตัวสิมก่อด้วยอิฐถือปูน ฐานเอวสูง ความสูงจากพื้นดินถึงสันหลังคาประมาณ 5.90 เมตร  โครงสร้างตัวอาคารมีเสาไม้กลม 6 ต้นก่อหุ่มด้วยผนังอิฐฉาบปูน ผนังด้านข้างห้องหน้า ก่อลดหลั่นเป็นขั้นบันได ส่วนด้านหน้าก่อด้วยอิฐฉาบปูนครึ่งผนังทั้ง 2 ข้าง ห้องด้านหลังก่ออิฐฉาบปูนเต็มผนังทั้ง 3 ด้าน  โครงสร้างหลังคาเป็นเครื่องไม้ทั้งหมด มุงด้วยกระเบื้องดินเผาหางแหลม ด้านนอกอาคารประดับด้วยคันทวยไม้แกะสลัก 6 อัน
                สิมแห่งนี้ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ เมื่อ 5 กันยายน 2551 จำนวนเงินทั้งสิ้น 1,814,762 บาท โดยสำนักศิลปากรที่ 10 อุบลราชธานี ด้วยงบประมาณจากกรมศิลปากรจำนวน  1,606,000 บาท และจากกฐินนางเพียง ศักดิ์เทวินทร์และญาติ242,762 บาท
                โบราณสถานแห่งนี้ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 116 ตอนพิเศษ  17 ลงวันที่ 1 7 มีนาคม  2542 และกำหนดเขตที่ดินโบราณสถานพื้นที่ประมาณ 4 ไร่ 12 ตารางวา  เจ้าอาวาสรูปปัจจุบันคือพะครูสถิตรัตนาภรณ์ ฐิตคุโณ




วันพฤหัสบดีที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2557

  วัดมหาพุทธาราม เป็นวัดราษฎร์ที่มีอาณาเขตกว้างขวาง เป็นวัดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองมาตั้งแต่สมัยเมืองศรีนครเขต ปัจจุบันมหาเถรสมาคม ประกาศให้วัดมหาพุทธาราม เป็นสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดศรีสะเกษ แห่งที่ ๑/๒๕๔๙ อันแสดงว่าวัดมหาพุทธาราม เป็นศูนย์รวมจิตใจของประชาชนชาวพุทธทั้งหลาย เป็นศูนย์กลางการปกครอง การศึกษา การเผยแผ่พระพุทธศาสนา การศึกษาสงเคราะห์ การสาธารณูปการ และการสาธารณสงเคราะห์ของคณะสงฆ์ ตั้งแต่อดีตสืบทอดมาจนปัจจุบัน นอกจากนั้น วัดมหาพุทธาราม ยังเป็นสถานที่ใช้ประกอบพิธีสำคัญของคณะสงฆ์ และพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาของเจ้าเมืองและ ข้าหลวงในอดีต และข้าราชการทั้งส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค ตลอดมากระทั่งบัดนี้
เนื่องจากวัดมหาพุทธาราม เป็นวัดเก่าแก่ มีประวัติความเป็นมาหลากหลายทั้งที่เป็นตำนาน เป็นคำบอกเล่าสืบ ๆกันมา เป็นข้อสันนิษฐานของท่านผู้รู้ และประวัติที่เชื่อถือได้ ประการสำคัญ วัดมหาพุทธาราม เป็นวัดใหญ่มีอาณาบริเวณกว้างขวาง เป็นศูนย์รวมกิจการคณะสงฆ์จังหวัดตั้งแต่อดีตมาถึงปัจจุบัน บทบาทหน้าที่ของวัดจึงมีส่วนสำคัญต่อความเจริญงอกงามของคณะสงฆ์ และความมั่งคงสถาพรของพระพุทธศาสนา ตลอดถึงเป็นบุญสถานอันยั่งยืนของประชาชนพุทธบริษัททั้งหลาย ดังนั้นในการเขียนประวัติของวัด จึงแบ่งเป็น ๓ ตอน คือ ๑. วัดป่าแดง ๒. วัดพระโต และ ๓. วัดมหาพุทธาราม ดังนี้
ตอนที่ ๑ วัดป่าแดง
               วัดมหาพุทธาราม เป็นวัดโบราณมีอายุเก่าแก่ เดิมทีเดียวชาวบ้าน เรียกชื่อว่า วัดป่าแดง ๆ จะสร้างขึ้นในสมัยใด ใครเป็นผู้สร้าง ยังไม่มีหลักฐานยืนยันแน่ชัด แต่จากการสันนิษฐานตามลักษณะการตั้งชุมชนพื้นที่และการแผ่ขยายอำนาจมายังดินแดนอีสานใต้ของนครจำปาสัก วัดป่าแดง น่าจะสร้างในสมัยเมืองศรีนครเขต และตรงกับสมัยเจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูร เจ้าผู้ครองนครจำปาสัก ซึ่งในสมัยนั้น เจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็ก พระมหาสมณะยอดแก้ว (เทียบพระสังฆราช) แห่งนครจำปาศักดิ์ เป็นพระสงฆ์ที่ได้รับความเคารพศรัทธาอย่างยิ่งของเจ้าผู้ครองนครจำปาสัก พร้อมด้วยข้าราชบริพาร ตลอดจนประชาชนชาวเมืองจำปาสักและเมืองเวียงจันทน์ จนได้รับการตั้งสมญานามว่า “ญาครูขี้หอม”
สืบเนื่องมาจากเหตุการณ์ทางการเมืองทำให้อาณาจักรลาวแบ่งออกเป็น ๓ อาณาจักร คือ หลวงพระบาง เวียงจันทน์ และจำปาสัก ทางลาวใต้ มีนครจำปาศักดิ์ เป็นเมืองหลวง มีแม่หญิงชื่อเจ้านางแพง บุตรีนางเภากับเจ้าปางคำ เจ้าลาวฝ่ายเหนือ (นครเชียงรุ้ง) เป็นผู้ปกครอง แต่เนื่องจากแม่หญิงแพงเป็นสตรีจึงมอบอำนาจการปกครองให้เจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็ก เป็นผู้สำเร็จราชการแทน เจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็กพิจารณาเห็นว่า การบ้านการเมือง เป็นเรื่องของฆราวาส ไม่เหมาะสมแก่สมณวิสัย จึงให้บริวารไปอัญเชิญเจ้าองค์หล่อจากเมืองเวียงจันทน์มาเป็นเจ้าปกครองนครจำปาศักดิ์ มีพระนามว่า เจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูร ส่วนเจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็ก (หรือญาครูขี้หอม) เมื่อส่งมอบหน้าที่ปกครองบ้านเมืองแก่เจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูรแล้ว จึงจัดส่งศิษย์ที่มีความรู้ความสามารถอกไปครองและตั้งเมืองต่าง ๆ โดยให้ขึ้นตรงต่ออำนาจการปกครองของเมืองจำปาศักดิ์มาตั้งแต่บัดนั้น อาณาเขตจำปาศักดิ์จึงแผ่ครอบคลุมบริเวณพื้นที่อีสานตอนใต้ ได้แก่บริเวณจังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ และบุรีรัมย์ ในปัจจุบัน
สำหรับศิษย์เอกที่เจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็กแห่งเมืองจำปาสัก ส่งออกไปหาที่สร้างบ้านแปลงเมืองที่ปรากฏตามหลักฐานมีหลายท่าน เช่น ๑) ให้จารย์ฮวด เป็นเจ้าเมืองสี่พันดอน (สีทันดร/สี่พันดร ก็เรียก) ๒) ให้ท้าวมั่น ไปครองเมืองสาละวัน ๓) ให้จารย์แก้ว ไปครองเมืองท่ง (กุลา) หรือเมืองสุวรรณภูมิ ๔) ให้จารย์เชียง ไปครองเมืองศรีนครเขต (ศรีสะเกษ)
ดังนั้น เมื่อวิเคราะห์ทางตำนานและหลักฐานประกอบ เช่น ตำนานพระอุรังคธาตุ ประวัติพระธาตุพนม ประวัติเมืองเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน (หนองบัวลำภู) ยุคพระตา พระวอ ประวัติการตั้งเมืองอุบลราชธานี และตำนานบ้านละทาย เมืองอินทเกษ และเมืองชีทวน เพื่อค้นหาร่องรอยบรรพบุรุษผู้สร้างวัดป่าแดง (วัดมหาพุทธาราม) จึงอนุมานได้ว่า เจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็ก พระมหาสมณะยอดแก้ว แห่งนครจำปาศักดิ์ เป็นพระมหาเถระผู้ทรงวิทยาคุณ เป็นหลักชัยแห่งพระพุทธศาสนา และประชาชนในยุคนั้น ต่างให้ความเคารพศรัทธาเป็นอย่างยิ่ง หลังจากส่งศิษย์ที่มีความรู้ความสามารถ โดยเฉพาะศิษย์ทั้งหลายเหล่านั้น ล้วนแต่ผ่านการบวชเรียนมาแล้ว ไปตั้งบ้านแปลงเมืองในที่ต่าง ๆ อาจเป็นไปได้ว่า เมื่อศิษย์เหล่านั้นมีอำนาจวาสนาบารมี สร้างบ้านสร้างเมืองเป็นปึกแผ่นดีแล้ว ก็ได้สร้างวัดประจำเมือง หรือประจำตระกูลขึ้น เช่น จารย์เชียง แห่งบ้านโนนสามขา ผู้ตั้งเมืองศรีนครเขต สร้างวัดป่าแดง (วัดมหาพุทธาราม) ตามคำบัญชาของเจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็ก ระหว่าง พ.ศ.๒๒๔๕-๒๒๖๓ แต่การสร้างวัดในยุคนั้น อาจเป็นวัดเล็ก ๆตั้งอยู่ท้ายเมือง ข้อที่น่าสังเกต ได้แก่บริเวณที่สร้างวัดเป็นป่าไม้แดง หรือไม่ก็สร้างให้เป็นวัดฝ่ายอรัญวาสี เน้นการปฏิบัติพระกัมมัฏฐานเป็นหลัก จึงได้ตั้งชื่อว่า “วัดป่าแดง” 
            หลังจากเจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็กย่างเข้าสู่วัยชราภาพ ได้กลับไปตั้งหลักแหล่งในบั้นปลายชีวิต ณ เมืองจำปาศักดิ์ และถึงแก่มรณภาพ เมื่อวันขึ้น ๕ ค่ำ เดือน ๗ พ.ศ.๒๒๖๓ สิริอายุได้ ๙๐ ปี ๗๐ พรรษา อัฐิบางส่วนของท่านบรรจุอยู่ที่อูบโมงค์หรืออูบเจดีย์ นอกกำแพงแก้วองค์พระธาตุพนม ณ วัดพระธาตุพนม มาตราบเท่าทุกวันนี้ หลังการมรณภาพของเจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็กแล้ว บรรดาศิษย์ทั้งหลายขาดพระอาจารย์ผู้เป็นเสาหลัก  และเกิดเหตุการณ์วุ่นวายทางการเมืองทางนครจำปาศักดิ์ วัดป่าแดงขาดการอุปถัมภ์บำรุง พระสงฆ์ผู้มีความชำนาญด้านพระกัมมัฏฐานก็หายาก ในที่สุดวัดป่าแดงก็กลายเป็นวัดร้างภายในเวลาไม่ถึง ๑๐๐ ปี (ระหว่าง พ.ศ.๒๒๕๓-๒๓๒๘)

ปราสาทหินวัดสระกำแพงน้อย,ปราสาทหินสระกำแพงน้อย จังหวัดศรีสะเกษ





ปราสาทหินวัดสระกำแพงน้อย อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ ตั้งอยู่บริเวณวัดสระกำแพงน้อย
ถนนสายศรีสะเกษ-อุทุมพรพิสัย นักท่องเที่ยวส่วนมาก
จะไม่ค่อยให้ความสนใจมากนักมักจะเลยไปเที่ยวชม
ปราสาทวัดสระกำแพงใหญ่ที่ตัวปราสาทใหญ่กว่ามาก
และตั้งอยู่ในเขตเทศบาลอำเภออุทุมพรพิสัย
แต่ปราสาทหินวัดสระกำแพงน้อยก็มีความงามไม่แพ้กัน
แม้จะเล็กกว่า แต่ที่นี่ก็งดงามปรับปรุงใหม่ และที่สำคัญ
ปราสาทหินวัดสระกำแพงน้อยแห่งนี้ยังมีบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ บ่อน้ำโบราณที่มีมาตั้งแต่สมัยพระ้จ้าชัยวรมันทีเดียว
บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่ว่านี้ตั้งอยู่ข้างๆ