วันอาทิตย์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2556
การจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในโรงเรียน
การจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในโรงเรียน
พีระพรรณ ทองศูนย์ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านคอกหนองไพร
โรงเรียนเป็นหน่วยงานที่อยู่ในท้องถิ่นและมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาคนที่เป็นกำลังสำคัญต่อการพัฒนาทุกด้าน โรงเรียนจัดการศึกษาตาม พรบ.การศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด ผู้เรียนมีความรู้ คุณธรรม การจัดการเรียนรู้ใช้กระบวนการเรียนรู้และบูรณาการให้ผู้เรียนมีความรู้เรื่องเกี่ยวกับตนเอง ความสัมพันธ์ของตนเองกับสังคม ความรู้เกี่ยวกับศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม การกีฬา ภูมิปัญญาไทยและการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญา
ภูมิปัญญาท้องถิ่นและแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นเป็นสิ่งที่มีคุณค่าทางการศึกษาที่โรงเรียนสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการจัดการเรียนการสอน การจัดการความรู้ มีองค์ประกอบสำคัญคือ ครู ข้อมูลความรู้ เทคโนโลยีและกระบวนการวิธีการ การนำภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อจัดการเรียนการสอน สามารถทำได้หลายวิธี เช่น จัดเข้ามาไว้ในระบบการศึกษา โดยจัดทำเป็นหลักสูตรให้เรียน โดยโรงเรียนสามารถนำกระบวนการจัดการความรู้เข้ามาจัดการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นให้นักเรียนเป็นผู้แสวงหาความรู้ที่มีอยู่ในท้องถิ่น นำความรู้ที่ได้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน จัดความรู้ให้เป็นระบบ นำความรู้ถ่ายทอดในรูปแบบต่างๆ เช่น เอกสารแนะนำความรู้ หนังสือเล่มเล็ก แสดงละคร ดนตรี จัดนิทรรศการ จัดทำเป็นโครงงาน ทำเป็นแผนที่ความคิด เล่าเรื่องราว วาดภาพ จัดทำ blog Website และการเรียนรู้ เพื่อนำเสนอภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
ดังนั้นกระบวนการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมมีความสอดคล้องกับการจัดการศึกษาในปัจจุบันที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ผู้เรียนเป็นผู้มีบทบาทในการค้นคว้า สร้างองค์ความรู้และนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ ความเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้น รวมทั้งการเรียนการสอนจะไม่น่าเบื่อ เพราะผู้เรียนได้ทำกิจกรรมน่าสนใจ ทำให้ผู้เรียนเห็นคุณค่าของตนเอง เกิดความรักความผูกพัน การเป็นเจ้าของของชุมชนและเกิดความสำนึกที่จะพัฒนาชุมชนของตนเองด้วยจิตสำนึกที่ดี รวมทั้งการสร้างอาชีพ รายได้อีกทางหนึ่ง
วันเสาร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2556
เครือข่ายหลักสูตรการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นอีสานใต้
เครือข่ายหลักสูตรการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นอีสานใต้
เพจบน Facebook URL https://www.facebook.com/pages/esanculturenet/212606382231874
กระดานข่าว URL http://forum.esanculture.net
เพจบน Facebook URL https://www.facebook.com/pages/esanculturenet/212606382231874
กระดานข่าว URL http://forum.esanculture.net
วันพฤหัสบดีที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2556
วันพุธที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2556
สาระการเรียนรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอีสานใต้
สาระการเรียนรู้
ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอีสานใต้
วิสัยทัศน์ (Vision)
ผู้เรียนเกิดความภาคภูมิใจ ตระหนักถึงความสำคัญ
และมีส่วนร่วมรักษาเอกลักษณ์ประวัติศาสตร์แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอีสานใต้ธำรงรักษาไว้ซึ่งมรดกทางวัฒนธรรม
ประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น
หลักการ
รายวิชาเพิ่มเติม สาระการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอีสานใต้
เป็นสาระการเรียนรู้ที่ว่าด้วยการศึกษา ค้นคว้า เพื่อให้เกิดความรู้
ความเข้าใจเกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่น สถานที่สำคัญ
แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม โบราณสถาน โบราณวัตถุ ภายในจังหวัดศรีสะเกษ
ด้วยการนำเสนอผลการสำรวจ สืบค้น จัดการความรู้
ภูมิปัญญาท้องถิ่นภายในจังหวัดศรีสะเกษ ในรูปแบบเอกสารประกอบการเรียนรู้
โครงงานมัคคุเทศก์น้อย และการสร้างเครือข่ายออนไลน์ ตระหนักถึงคุณค่าและร่วมรักษาเอกลักษณ์ประวัติศาสตร์ของท้องถิ่น และร่วมรักษาแหล่งท่องเที่ยวสำคัญในท้องถิ่น
มีส่วนร่วมในการธำรงรักษาไว้ซึ่งมรดกทางวัฒนธรรม ประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่นมีความรู้
ทักษะ คุณธรรม และค่านิยมที่เหมาะสมโดยได้กำหนดสาระต่างๆไว้ ดังนี้
ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรมประวัติความสำคัญของศาสนา
และมีส่วนร่วมในการบำรุงรักษาศาสนสถานของศาสนาที่ตนนับถือ
การเมืองการปกครอง/ประเพณี
วัฒนธรรมวิถีการดำเนินชีวิต
วัฒนธรรม ประเพณีของกลุ่มคนในท้องถิ่น และภูมิปัญญาท้องถิ่น
เศรษฐศาสตร์สภาวะเศรษฐกิจหลักการความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจของคนในชุมชนและนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในชีวิตประจำวัน
ประวัติศาสตร์
เวลาและยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ วิธีการทางประวัติศาสตร์ พัฒนาการทางประวัติศาสตร์และยกตัวอย่างบุคคลสำคัญทางประวัติศาสตร์ในท้องถิ่น
ภูมิศาสตร์
/ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ลักษณะของประเทศทางกายภาพ แหล่งทรัพยากร และแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของชุมชนที่ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตและมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรในท้องถิ่น
สาระการเรียนรู้
1. ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม
2. การเมืองการปกครอง / ประเพณีวัฒนธรรม
3. เศรษฐกิจ
4. ประวัติศาสตร์
5. ภูมิศาสตร์/ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
คุณภาพผู้เรียน
1. มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่น
วัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่น สถานที่สำคัญ แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม โบราณสถาน
โบราณวัตถุ ภายในจังหวัดศรีสะเกษ
2. มีทักษะการสำรวจ สืบค้น จัดการความรู้
ภูมิปัญญาท้องถิ่นภายในจังหวัดศรีสะเกษ
3. ตระหนักถึงคุณค่าและร่วมรักษาเอกลักษณ์ประวัติศาสตร์ของท้องถิ่น
และร่วมรักษาแหล่งท่องเที่ยวสำคัญในท้องถิ่น
มีส่วนร่วมในการธำรงรักษาไว้ซึ่งมรดกทางวัฒนธรรม ประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น
จุดหมาย
1. ผู้เรียน
มีความรู้ ความเข้าใจ การบำรุงรักษาศาสนสถานของศาสนาที่ตนนับถือ
2. ผู้เรียน
มีความรู้ ความเข้าใจ สามารถอธิบายวิถีการดำเนินชีวิต
วัฒนธรรม ประเพณีของกลุ่มคนในท้องถิ่น
และภูมิปัญญาท้องถิ่น
3. ผู้เรียนอธิบายหลักการความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจของคนในชุมชนและนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในชีวิตประจำวัน
4. ผู้เรียนอธิบายพัฒนาการทางประวัติศาสตร์และยกตัวอย่างบุคคลสำคัญทางประวัติศาสตร์ในท้องถิ่น
5. ผู้เรียนระบุแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของชุมชนที่ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตและมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรในท้องถิ่น
สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
รายวิชาเพิ่มเติม
สาระการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอีสานใต้มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้
ซึ่งการพัฒนาผู้เรียนให้บรรลุตามมาตรฐานการเรียนรู้ที่กำหนดนั้น
จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช 2551 มี 5 ประการ ดังนี้
1.
ความสามารถในการสื่อสารเป็นความสามารถในการรับและส่งสาร มีวัฒนธรรมในการใช้ภาษาถ่ายทอดความคิด ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึก
และทัศนะของตนเองเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร
และประสบการณ์อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเอง สังคม
และประเทศสมาชิกในกลุ่มอาเซียน
รวมทั้งการเจรจาต่อรองเพื่อขจัดและลดปัญหาความขัดแย้งต่าง ๆ
การเลือกรับหรือไม่รับข้อมูลข่าวสารด้วยหลักเหตุผล และความถูกต้อง
ตลอดจนการเลือกใช้วิธีการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่มีต่อตนเองสังคม
และประเทศสมาชิกในกลุ่มอาเซียน
2. ความสามารถในการคิดเป็นความสามารถในการคิดวิเคราะห์
การคิดสังเคราะห์ การคิดอย่างสร้างสรรค์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการคิดเป็นระบบ
เพื่อนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้หรือสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจเกี่ยวกับตนเอง สังคม
และประเทศสมาชิกในกลุ่มอาเซียนได้อย่างเหมาะสม
3. ความสามารถในการแก้ปัญหาเป็นความสามารถในการแก้ปัญหาและอุปสรรคต่าง
ๆ
ที่เผชิญได้อย่างถูกต้องเหมาะสมบนพื้นฐานของหลักเหตุผล คุณธรรมและข้อมูลสารสนเทศ เข้าใจความสัมพันธ์และการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์ต่าง
ๆ ในสังคม แสวงหาความรู้
ประยุกต์ความรู้มาใช้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหา และมีการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อตนเอง สังคม
สิ่งแวดล้อมและประเทศสมาชิกในกลุ่มอาเซียน
4. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิตเป็นความสามารถในการนำกระบวนการต่าง
ๆ ไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน
การเรียนรู้ด้วยตนเอง
การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
การทำงาน
และการอยู่ร่วมกันในสังคมด้วยการสร้างเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคล การจัดการปัญหาและความขัดแย้งต่าง ๆ
อย่างเหมาะสม การปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและสภาพแวดล้อมและการรู้จักหลีกเลี่ยงพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ที่ส่งผลกระทบต่อตนเองและประเทศสมาชิกในกลุ่มอาเซียน
5. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเป็นความสามารถในการเลือกและใช้เทคโนโลยีด้าน ต่าง ๆ
และมีทักษะกระบวนการทางเทคโนโลยี
เพื่อการพัฒนาตนเอง สังคม
และประเทศสมาชิกในกลุ่มอาเซียน
ในด้านการเรียนรู้
การสื่อสาร การทำงาน การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ถูกต้องเหมาะสม และมีคุณธรรม
คุณลักษณะอันพึงประสงค์
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช 2551 มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์
เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมและประเทศสมาชิกในกลุ่มอาเซียนได้อย่างมีความสุข ในฐานะเป็นพลเมืองไทยและพลโลก ดังนี้
1. รักชาติ
ศาสน์ กษัตริย์
2. ซื่อสัตย์สุจริต
3. มีวินัย
4. ใฝ่เรียนรู้
5. อยู่อย่างพอเพียง
6. มุ่งมั่นในการทำงาน
7. รักความเป็นพลเมืองดีในกลุ่มอาเซียน
8. มีจิตสาธารณะ
สาระการเรียนรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอีสานใต้
สาระการเรียนรู้
ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอีสานใต้
วิสัยทัศน์ (Vision)
ผู้เรียนเกิดความภาคภูมิใจ ตระหนักถึงความสำคัญ
และมีส่วนร่วมรักษาเอกลักษณ์ประวัติศาสตร์แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอีสานใต้ธำรงรักษาไว้ซึ่งมรดกทางวัฒนธรรม
ประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น
หลักการ
รายวิชาเพิ่มเติม สาระการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอีสานใต้
เป็นสาระการเรียนรู้ที่ว่าด้วยการศึกษา ค้นคว้า เพื่อให้เกิดความรู้
ความเข้าใจเกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่น สถานที่สำคัญ
แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม โบราณสถาน โบราณวัตถุ ภายในจังหวัดศรีสะเกษ
ด้วยการนำเสนอผลการสำรวจ สืบค้น จัดการความรู้
ภูมิปัญญาท้องถิ่นภายในจังหวัดศรีสะเกษ ในรูปแบบเอกสารประกอบการเรียนรู้
โครงงานมัคคุเทศก์น้อย และการสร้างเครือข่ายออนไลน์ ตระหนักถึงคุณค่าและร่วมรักษาเอกลักษณ์ประวัติศาสตร์ของท้องถิ่น และร่วมรักษาแหล่งท่องเที่ยวสำคัญในท้องถิ่น
มีส่วนร่วมในการธำรงรักษาไว้ซึ่งมรดกทางวัฒนธรรม ประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่นมีความรู้
ทักษะ คุณธรรม และค่านิยมที่เหมาะสมโดยได้กำหนดสาระต่างๆไว้ ดังนี้
ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรมประวัติความสำคัญของศาสนา
และมีส่วนร่วมในการบำรุงรักษาศาสนสถานของศาสนาที่ตนนับถือ
การเมืองการปกครอง/ประเพณี
วัฒนธรรมวิถีการดำเนินชีวิต
วัฒนธรรม ประเพณีของกลุ่มคนในท้องถิ่น และภูมิปัญญาท้องถิ่น
เศรษฐศาสตร์สภาวะเศรษฐกิจหลักการความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจของคนในชุมชนและนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในชีวิตประจำวัน
ประวัติศาสตร์
เวลาและยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ วิธีการทางประวัติศาสตร์ พัฒนาการทางประวัติศาสตร์และยกตัวอย่างบุคคลสำคัญทางประวัติศาสตร์ในท้องถิ่น
ภูมิศาสตร์
/ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ลักษณะของประเทศทางกายภาพ แหล่งทรัพยากร และแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของชุมชนที่ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตและมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรในท้องถิ่น
สาระการเรียนรู้
1. ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม
2. การเมืองการปกครอง / ประเพณีวัฒนธรรม
3. เศรษฐกิจ
4. ประวัติศาสตร์
5. ภูมิศาสตร์/ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
คุณภาพผู้เรียน
1. มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่น
วัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่น สถานที่สำคัญ แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม โบราณสถาน
โบราณวัตถุ ภายในจังหวัดศรีสะเกษ
2. มีทักษะการสำรวจ สืบค้น จัดการความรู้
ภูมิปัญญาท้องถิ่นภายในจังหวัดศรีสะเกษ
3. ตระหนักถึงคุณค่าและร่วมรักษาเอกลักษณ์ประวัติศาสตร์ของท้องถิ่น
และร่วมรักษาแหล่งท่องเที่ยวสำคัญในท้องถิ่น
มีส่วนร่วมในการธำรงรักษาไว้ซึ่งมรดกทางวัฒนธรรม ประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น
จุดหมาย
1. ผู้เรียน
มีความรู้ ความเข้าใจ การบำรุงรักษาศาสนสถานของศาสนาที่ตนนับถือ
2. ผู้เรียน
มีความรู้ ความเข้าใจ สามารถอธิบายวิถีการดำเนินชีวิต
วัฒนธรรม ประเพณีของกลุ่มคนในท้องถิ่น
และภูมิปัญญาท้องถิ่น
3. ผู้เรียนอธิบายหลักการความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจของคนในชุมชนและนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในชีวิตประจำวัน
4. ผู้เรียนอธิบายพัฒนาการทางประวัติศาสตร์และยกตัวอย่างบุคคลสำคัญทางประวัติศาสตร์ในท้องถิ่น
5. ผู้เรียนระบุแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของชุมชนที่ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตและมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรในท้องถิ่น
สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
รายวิชาเพิ่มเติม
สาระการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอีสานใต้มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้
ซึ่งการพัฒนาผู้เรียนให้บรรลุตามมาตรฐานการเรียนรู้ที่กำหนดนั้น
จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช 2551 มี 5 ประการ ดังนี้
1.
ความสามารถในการสื่อสารเป็นความสามารถในการรับและส่งสาร มีวัฒนธรรมในการใช้ภาษาถ่ายทอดความคิด ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึก
และทัศนะของตนเองเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร
และประสบการณ์อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเอง สังคม
และประเทศสมาชิกในกลุ่มอาเซียน
รวมทั้งการเจรจาต่อรองเพื่อขจัดและลดปัญหาความขัดแย้งต่าง ๆ
การเลือกรับหรือไม่รับข้อมูลข่าวสารด้วยหลักเหตุผล และความถูกต้อง
ตลอดจนการเลือกใช้วิธีการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่มีต่อตนเองสังคม
และประเทศสมาชิกในกลุ่มอาเซียน
2. ความสามารถในการคิดเป็นความสามารถในการคิดวิเคราะห์
การคิดสังเคราะห์ การคิดอย่างสร้างสรรค์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการคิดเป็นระบบ
เพื่อนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้หรือสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจเกี่ยวกับตนเอง สังคม
และประเทศสมาชิกในกลุ่มอาเซียนได้อย่างเหมาะสม
3. ความสามารถในการแก้ปัญหาเป็นความสามารถในการแก้ปัญหาและอุปสรรคต่าง
ๆ
ที่เผชิญได้อย่างถูกต้องเหมาะสมบนพื้นฐานของหลักเหตุผล คุณธรรมและข้อมูลสารสนเทศ เข้าใจความสัมพันธ์และการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์ต่าง
ๆ ในสังคม แสวงหาความรู้
ประยุกต์ความรู้มาใช้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหา และมีการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อตนเอง สังคม
สิ่งแวดล้อมและประเทศสมาชิกในกลุ่มอาเซียน
4. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิตเป็นความสามารถในการนำกระบวนการต่าง
ๆ ไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน
การเรียนรู้ด้วยตนเอง
การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
การทำงาน
และการอยู่ร่วมกันในสังคมด้วยการสร้างเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคล การจัดการปัญหาและความขัดแย้งต่าง ๆ
อย่างเหมาะสม การปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและสภาพแวดล้อมและการรู้จักหลีกเลี่ยงพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ที่ส่งผลกระทบต่อตนเองและประเทศสมาชิกในกลุ่มอาเซียน
5. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเป็นความสามารถในการเลือกและใช้เทคโนโลยีด้าน ต่าง ๆ
และมีทักษะกระบวนการทางเทคโนโลยี
เพื่อการพัฒนาตนเอง สังคม
และประเทศสมาชิกในกลุ่มอาเซียน
ในด้านการเรียนรู้
การสื่อสาร การทำงาน การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ถูกต้องเหมาะสม และมีคุณธรรม
คุณลักษณะอันพึงประสงค์
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช 2551 มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์
เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมและประเทศสมาชิกในกลุ่มอาเซียนได้อย่างมีความสุข ในฐานะเป็นพลเมืองไทยและพลโลก ดังนี้
1. รักชาติ
ศาสน์ กษัตริย์
2. ซื่อสัตย์สุจริต
3. มีวินัย
4. ใฝ่เรียนรู้
5. อยู่อย่างพอเพียง
6. มุ่งมั่นในการทำงาน
7. รักความเป็นพลเมืองดีในกลุ่มอาเซียน
8. มีจิตสาธารณะ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)